Page Facebook หลักของมิลล์คอน สตีล บริษัทที่ก่อตั้งโดยคุณสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ได้บอกถึงความรู้เกี่ยวกับรถไฟไทยในสมัยก่อน ว่าต้องหยุดรอสวนกันระหว่างเส้นทาง เมื่อเกิดปัญหาที่คันใดคันหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ จึงเกิดโครงการรถไฟรางคู่ขึ้นมา
รถไฟทางคู่คืออะไร
รถไฟทางคู่คือการสร้างทางรถไฟให้มีสองทางเพื่อเพิ่มสภาพทางคล่องในการเดินรถไฟ โดยจะช่วยให้ความเร็วในการเดินรถเร็วขึ้นด้วย จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถไฟทางคู่ดีอย่างไร
รถไฟทางคู่จะช่วยให้การวิ่งสวนทางกันได้โดยไม่หยุดรอ ทำให้การขนส่งมีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม มีทางรถยกระดับสำหรับพื้นที่เฉพาะ และปลอดภัยมากขึ้นเพราะมีรั้วขั้นเขตทางรถไฟ
เส้นทางรถไฟทางคู่
ในปัจจุบันมีเส้นรถไฟทางคู่ทั้งหมด 15 เส้นทาง โดยแบ่งเป็น
ช่วงแรก 7 เส้นทางได้แก่
- ประจวบคีรีขันธ์–ชุมพร (165 กม./ ปี 2562)
- ชุมทางถนนจิระ–ขอนแก่น (187 กม./ ปี 2563)
- หัวหิน–ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง (84 กม./ ปี 2565)
- นครปฐม–หนองปลาดุก–หัวหิน (169 กม./ ปี 2565)
- ลพบุรี–นครสวรรค์–ปากน้ำโพ (148 กม./ ปี 2565)
- มาบกะเบา–ชุมทางถนนจิระ (132 กม./ ปี 2565)
- เด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ (323 กม./ ปี 2566)
ช่วงที่ 2 อีก 8 เส้นทาง โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงปี 2562 – 2565 ได้แก่
- หาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ (45 กม.)
- ชุมพร–สุราษฎร์ธานี (168 กม.)
- ขอนแก่น–หนองคาย์ (167 กม.)
- ชุมทางถนนจิระ–อุบลราชธานี (308 กม.)
- สุราษฎร์ธานี–หาดใหญ่–สงขลา (321 กม.)
- ปากน้ำโพ–เด่นชัย (285 กม.)
- เด่นชัย–เชียงใหม่ (189 กม.)
- บ้านไผ่–มุกดาหาร–นครพนม (355 กม.)
หัวใจของงานก่อสร้างรถไฟทางคู่
หัวใจของรถไฟรางคู่นอกจากเรื่องความตรงต่อเวลาและความรวดเร็ว ก็ยังมีเรื่องงานก่อสร้างที่เป็นหัวใจหลัก คือการใช้โครงสร้างที่มีความแข็งแรง นั่นก็คือการใช้เหล็กคุณภาพที่ได้มาตรฐาน มอก. ที่มีความแข็งแรงทนทาน และมีความบริสุทธิ์ของเหล็กสูง ซึ่งรถไฟรางคู่ก็ได้ไว้วางใจใช้เหล็กของมิลล์คอน สตีลในการก่อสร้าง